กองทุน SSF น่าซื้อ มีอะไรบ้างในของแต่ละธนาคารที่น่าสนใจ

กองทุน SSF น่าซื้อ มีอะไรบ้างในของแต่ละธนาคารที่น่าสนใจ

กองทุน SSF น่าซื้อ มีอะไรบ้าง

ในของแต่ละธนาคารที่น่าสนใจ

     กองทุน SSF กองทุนเพื่อการออม กองทุนที่มาทดแทนกองทุน LTF ชื่อดังที่ช่วยลดหย่อนภาษีได้ บอกเลยว่ากองทุนตรงนี้มีมาเพื่อเอาใจและตอบโจทย์สายออมแน่นอน เพราะนอกจากจะช่วยให้คุณมีเงินออมสำหรับอนาคตแล้ว ยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอีกด้วย บทความนี้เรามาพูดคุยรายละเอียดเกี่ยวกับกองทุนตัวนี้กัน

     กองทุน SSF คืออะไร

     กองทุน SSF ชื่อเต็มอย่าง Super Saving Fund หรือ กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว เกิดขึ้นมาเพื่อทดแทนกองทุน LTF ที่หมดอายุลงไปในปี 2562 โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ ส่งเสริมให้ประชาชนมีวินัยในการออมเงินระยะยาว และยังช่วยให้รัฐบาลมีรายได้จากภาษีมากขึ้นอีกด้วย

     ตัวอย่าง “ธนาคาร” รายใหญ่ที่กองทุน SSF น่าซื้อ

     ยังมีอีกหลายธนาคารที่เปิดให้ลงทุนในกองทุนตัวนี้ แต่ว่าเราได้หยิบยก 4 ธนาคารที่มีคนซื้อกองทุนตัวนี้เยอะมากที่สุด ดังนี้

     ธนาคารกรุงไทย (KTB)

     มีกองทุน SSF ที่หลากหลาย ทั้งกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นไทย, หุ้นต่างประเทศ และตราสารหนี้

     ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)

     มีกองทุน SSF ที่เน้นลงทุนในหุ้นไทยเป็นหลัก และมีการกระจายความเสี่ยงไปยังหลายอุตสาหกรรม

     ธนาคารกสิกรไทย (Kbank)

     มีกองทุน SSF ที่เน้นลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่และมีปันผลสม่ำเสมอ

     ธนาคารกรุงศรี (BAY)

     มีกองทุน SSF ที่หลากหลาย ทั้งกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นไทย, หุ้นต่างประเทศ และตราสารหนี้


     ตัวอย่างกองทุน SSF ที่น่าสนใจ

     ขอบอกไว้ก่อนว่าข้อมูลนี้เป็นเพียงตัวอย่าง และอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอตามเงื่อนไขของธนาคารนั้นๆ ดังนั้นก่อนตัดสินใจลงทุน ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างเจ้าหน้าที่ธนาคารก่อนเสมอ โดยตัวอย่างธนาคารใหญ่ๆ ที่เรายกมากก็จะมีดังนี้

     SCBSEMI(SSF) ความเสี่ยง “สูง”

     จากธนาคารไทยพาณิชย์อย่าง SCB Asset Management ลงทุนในกองทุนต่างประเทศที่เน้นลงทุนใน Semiconductor และยานยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยกองทุน SCBSEMI(SSF) จะลงทุนในหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ คือ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริษัทผู้ผลิตชิปชั้นนำทั่วโลก เช่น Intel, TSMC, Nvidia และอื่นๆ ซึ่งเป็นบริษัทที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีสำคัญๆ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ รถยนต์ไฟฟ้า และปัญญาประดิษฐ์

     กองทุน KKP NDQ100-H-SSF ความเสี่ยง “สูง”

     จากบลจ.เกียรตินาคินภัทรอย่าง KKP Asset Management ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Invesco NASDAQ 100 ETF ที่ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก เป็นกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ที่ออกแบบมาเพื่อให้นักลงทุนเข้าถึงโอกาสเติบโตของบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกที่จดทะเบียนอยู่ในดัชนี Nasdaq-100 ซึ่งเป็นดัชนีที่รวบรวมบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่และมีการเติบโตสูง เช่น Apple, Microsoft, Amazon, Google เป็นต้น

     KKP GNP-SSF ความเสี่ยง “ปานกลาง”     

     กองทุนเปิดเคเคพี โกลบอล นิว เพอร์สเปกทีฟ ชนิดเพื่อการออม จากบลจ.เกียรตินาคินภัทรอย่าง KKP Asset Management กองทุนหุ้นโลก คัดเลือกหุ้นแบบ Bottom-Up เป็นกองทุนที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่มองหาโอกาสเติบโตในตลาดหุ้นโลก โดยเฉพาะหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตสูงและมีมุมมองใหม่

     B-INNOTECHSSF ความเสี่ยง “สูง”

     จากธนาคารบัวหลวง BBL Asset Management กองทุนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี คัดเลือกหุ้นแบบ Bottom-Up เป็นกองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลอินโนเวชั่นและเทคโนโลยีเพื่อการออม ที่มุ่งเน้นการลงทุนในหุ้นของบริษัททั่วโลกที่มีการพัฒนาทางเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกองทุน SSF ที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มองหาโอกาสเติบโตในระยะยาวจากภาคเทคโนโลยี


     ข้อแนะนำที่อยากบอกในการซื้อกองทุนตัวนี้

     ข้อดีและสิทธิประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการซื้อกองทุนตัวนี้ และข้อแนะนำเล็กๆ ที่เราอยากบอกมีด้วยกัน 2 ข้อด้วยก็คือ

     จำนวนเงินที่ลดหย่อนภาษีได้

     หากอยากรู้ว่าเราสามารถได้ลดหย่อนภาษีเท่าไหร่ บอกเลยว่าสามารถนำเงินที่ลงทุนในกองทุน SSF ไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษี หรือไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี

     ระยะเวลาถือครอง

     ควรถือครองหน่วยลงทุนอย่างน้อย 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อ เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเต็มจำนวนถึงจะนับว่าคุ้มค่ามากที่สุด สามารถถือน้อยกว่านี้ได้ แต่ประสิทธิภาพจะได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควรนัก

     สุดท้ายแล้วถึงแม้จะเป็นกองทุนเพื่อการออม และธนาคารใหญ่ๆ ที่มีความมั่นคงสูง แต่อย่างไรก็ตามก่อนการลงทุนก็อยากให้คุณหาข้อมูล ดูสิทธิประโยชน์และเงื่อนไขต่างๆ ให้ครบถ้วยและทำความเข้าใจกับมันอย่างละเอียด เนื่องจากทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง อาจจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับมุมมองและการบริหารจัดการของเรา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *